วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

WEEK4 โปรเเกรมภาษาคอมพิวเตอร์


          โปรเเกรมภาษาคอมพิวเตอร์        

             
                     (ภาพจาก:http://studentlanka.com/wp-content/uploads/2012/01/web_programming_language.jpg)                             
 ภาษาคอมพิวเตอร์คืออะไร เรามาดูกันดีกว่า:))  

            ภาษาคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมและสั่งงานให้เครื่องทำงานตามคำสั่งเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ผู้ใช้ต้องการ    แบ่งออกเป็น 5 ยุคคือ
     

                    ยุคที่ 1 : ภาษาเครื่อง (Machine Language)

                ภาษาเครื่อง เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับต่ำที่สุด ซึ่งคอมพิวเตอร์เข้าใจ
ได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านตัวแปลภาษาเพราะเขียนคำสั่งและแทนข้อมูลด้วยเลขฐานสอง (Binary
Code) ทั้งหมด ซึ่งเป็นการเขียนคำสั่งด้วยเลข 0 หรือ 1 ดังตัวอย่างคำสั่งภาษาเครื่อง ดังนี้

คำสั่งภาษาเครื่อง (Machine Code)
ความหมาย
0010 0000
โหลดข้อมูลจากหน่วยความจำ
0100 0000
ดำเนินการบวกข้อมูล
0011 0000
เก็บข้อมูลลงในหน่วยความจำ

                ดังนั้นนักเขียนโปรแกรมจึงไม่นิยมที่จะเขียนโปรแกรมด้วยภาษาเครื่อง เพราะทำการแก้ไข และเขียนโปรแกรมได้ยากทำให้เกิดยุ่งยากในการจดจำ และเขียนคำสั่งต้องใช้เวลามากในการเขียนโปรแกรม รวมทั้งการหาข้อผิดพลาดจากการทำงานของโปรแกรม และโปรแกรมที่เขียนขึ้นทำงานเฉพาะคอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์เดียวกันเท่านั้น (Machine Dependent)
               ข้อดีของภาษาเครื่อง คือสามารถเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง และสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างรวดเร็ว


                     ยุคที่ 2 ภาษาแอสเซมบลี ( Assembly Language)

               ภาษาแอสเซมบลี จัดอยู่ในภาษาระดับต่ำ และภาษาแอสเซมบลีจะเขียนคำสั่งเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ เพื่อใช้แทนคำสั่ง  ภาษาเครื่อง ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น โดยการจดจำรหัสคำสั่งสั้น ๆ ที่จำได้ง่าย ซึ่งเรียกว่า นิวมอนิกโค้ด (Mnemonic code) เช่น

คำสั่งนิวมอนิกโคด
( Mnemonic code)
คำสั่งภาษาเครื่อง
ความหมาย
LOAD
0010 0000
โหลดข้อมูลจากหน่วยความจำ
ADD
0100 0000
ดำเนินการบวกข้อมูล
SUB
1101 0000
ดำเนินการลบข้อมูล
MOV
1001 0000
ย้ายข้อมูลเข้าออกจากหน่วยความจำ
STROE
0011 0000
เก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำ
                
               
               สรุปสั้นๆคือคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในยุคที่ 1 และที่ 2 จะต้องใช้เทคนิคการเขียนโปรแกรมสูง เพราะมีความยืดหยุ่นในการเขียนน้อยมาก และมีความยากในการเขียน  คำสั่งสำหรับผู้เขียนโปรแกรม แต่สามารถควบคุมและเข้าถึงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง และมีความรวดเร็วกว่าการใช้ภาษาระดับอื่น ๆ

               

                ยุคที่ 3 ภาษาระดับสูง ( High-level Language)

                ภาษาระดับสูงถือว่าเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในยุคที่สาม ( Third-generation
language) โดยมีโครงสร้างภาษาและชุดคำสั่งเหมือนกับภาษาอังกฤษ รวมทั้งสามารถใช้นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ในการคำนวณได้ด้วย ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสะดวกในการเขียนคำสั่งและแสดงผลลัพธ์ได้ตามต้องการ 

                สรุปสั้นๆก็คือ มีการเขียนโปรแกรมที่ง่ายกว่าในยุคที่ สามารถทำงานได้บนเครื่อง   คอมพิวเตอร์หลายระดับ (Machine Independent) โดยต้องใช้ควบคู่กับตัวแปลภาษา (Compiler or Interpreter)       สำหรับเครื่องนั้น ๆ และมีความยืดหยุ่นในการแก้ปัญหาได้มากกว่าภาษาระดับต่ำ
        

                  ยุคที่ ภาษาระดับสูงมาก ( Very high-level Language)

               ภาษาระดับสูงมากเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ( Fourth-generation language)           ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมด้วยคำสั่งสั้น และง่ายกว่าภาษาในยุคก่อน มีการทำงาน       แบบไม่จำเป็นต้องบอกลำดับของขั้นตอนการทำงาน เพียงนักเขียนโปรแกรมกำหนดว่าต้องการให้       โปรแกรมทำอะไรเท่านั้นโดยไม่ต้อง ทราบว่าทำได้อย่างไร ทำให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายและรวดเร็วกว่าภาษาระดับสูงในยุคที่  ภาษาระดับสูงมากทำงาน       เหมือนกับภาษาพูดว่าต้องการอะไรและเขียนเหมือนภาษาอังกฤษดังตัวอย่าง เช่น


                    TABLE FILE SALES
                    SUM UNITS BY MONTH BY CUSTOMER BY PRODUCT
                    ON CUSTOMMER SUBTOTAL PAGE BREAK
                    END

                ยุคที่ 5 ภาษาธรรมชาติ ( Natural Language)

                  ภาษาธรรมชาติจัดเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า ( Fifth generation language)     คือ การเขียนคำสั่ง หรือสั่งงานคอมพิวเตอร์ทำงานโดยการใช้ภาษาธรรมชาติต่าง ๆ เช่น ภาพ หรือ      เสียง โดยไม่สนใจรูปแบบไวยากรณ์หรือโครงสร้างของภาษามากนักซึ่งคอมพิวเตอร์จะพยายามคิดวิเคราะห์       และแปลความหมายโดยอาศัยการเรียนรู้ด้วยตนเองและระบบองค์ความรู้( Knowledge     Base System)          มาช่วยแปลความหมายของคำสั่งต่าง ๆ และตอบสนองต่อผู้ใช้งาน
                ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 5 เช่น
                    SUM SHIPMENTS BY STATE BY DATE
        
               สรุปสั้นๆคือผู้เขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้เร็ว โดยไม่ต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม แต่คอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรแกรมต้องมีระบบรับคำสั่ง และประมวลผลแบบอัจฉริยะ สามารถตอบสนองและทำงานได้หลายแบบ


                  อ่านจบกันเเล้วหวังว่าจะเข้าใจเรื่องโปรเเกรมภาษาคอมพิวเตอร์กันบ้างนะ



4 ความคิดเห็น:

  1. ได้ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์

    ตอบลบ
  2. แบ่งเนื้อหาได้ดีและอ่านเข้าใจง่ายมากๆ

    ตอบลบ
  3. เน้นการอธิบายไปทางการแบ่งยุคของภาษาอมพิวเตอร์ แปลกและไม่เหมือนใครดี

    ตอบลบ
  4. จัดเนื้อหาดีมากเลยอ่ะะ

    ตอบลบ